ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
โรงเรียนบ้านเมืองน้อยหนองมุข เดิมชื่อโรงเรียนบ้านเมืองน้อย ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2460 โดยใช้อาคารศาลาการเปรียญวัดบ้านเมืองน้อย (หมู่ที่ 1) เป็นสถานที่เปิดทำการสอนเพียง 2 ชั้น คือ ป.1-2 ครูได้รับเงินเดือนจากการศึกษาพลี ครูใหญ่คนแรกคือ นายเพ็ง คำเพราะ ในปีการศึกษา 2529 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ อนุญาตให้เปลี่ยนชื่อ เป็นโรงเรียนบ้านเมืองน้อยหนองมุข ตามหนังสือ ที่ศก. 1461.02/3474 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2529
ปี พ.ศ. 2485 โรงเรียนได้ย้ายจากศาลาการเปรียญ วัดบ้านเมืองน้อย มาปลูกสร้างใหม่ ในบริเวณที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน ที่ดินแปลงนี้ราษฎรหมู่บ้านเมืองน้อยมอบให้ เนื้อที่ทั้งหมด กว้าง 8 เส้น ยาว 8 เส้น รวมเนื้อที่ 64 ไร่ อาคารเรียน แบบ ป ซ 1 ที่ตั้งแห่งนี้เป็นย่านกลางระหว่างบ้าน เมืองน้อยหมู่ บ้านโนนสวน หมู่ที่ 2 และบ้านหนองมุขหมู่ที่ 5 เปิดทำการสอนจากชั้น ป.1-4 ผู้ริเริ่มย้ายโรงเรียนคือ นายเนียม แสงคำ ครูใหญ่ในขณะนั้น
เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2504 นายไพโรจน์ ศรีขาว ครูใหญ่เห็นว่าอาคารเรียนทรุดโทรมมาก จำนวนนักเรียนมากขึ้น จึงของบประมาณสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ทางราชการอนุมัติเงินจำนวน 30,000 บาท และสังกะสี จำนวน 37 หาบคิดเป็นเงิน 8,000 บาท รวมเป็นเงิน 38,000 บาท และขอความอนุเคราะห์จากพระครูอนุรักษ์กันทรารมย์ (เบ้า คม.ถีโร) เจ้าอาวาสวัดบ้านเมืองน้อยหมู่ที่ 1 กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและราษฎรทั้งสามหมู่บ้าน ได้ช่วยกันจัดหาวัสดุอุปกรณ์และแรงงาน คิดเป็นเงิน 7,000 บาท ได้เริ่มลงมือปลูกสร้างเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2504 ตามรูปแบบ ป 1 ซ ดัดแปลง 2 ชั้น 3 ห้องเรียน กว้าง 9 เมตร ยาว 27 เมตร การปลูกสร้างยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ เพราะยังขากฝ้าเพดานชั้นบนและกั้นห้องเรียนชั้นล่าง
พ.ศ. 2506 ทางราชการได้ขยายการศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษาในตำบลนี้ โรงเรียนได้ขยายถึง ป.5 เป็นปีแรก ขณะเดียวกันกับนายไพโรจน์ ศรีขาวย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านละเอาะ และนายวีรยุทธ เขียวอ่อน มาดำรงตำแหน่งแทน สับเปลี่ยนกันประมาณ 6 เดือน ก็ย้ายกลับตำแหน่งเดิม
พ.ศ. 2508 นายบุญทรง จันทราภรณ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ เพื่อบรรจุเป็นครูใหญ่โท ในศกนี้โรงเรียนได้เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7
พ.ศ. 2509 ทางราชการอนุมัติเงินงบประมาณ เป็นค่าซ่อมแซมต่อเติมอาคารเรียนแบบ ป 1 ซ ชั้นล่าง เป็นเงิน 70,000 บาท เพื่อเทพื้น ค.ส.ล. ชั้นล่าง กั้นห้องเรียนตีฝ้าเพดานชั้นบนแล้วเสร็จบริบูรณ์ในปีนี้รัฐบาลได้โอนการศึกษาประชาบาลไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทยเป็นการกระจายอำนาจ ไปสู่ท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป
พ.ศ. 2513 กรมการปกครองได้จัดสรรงบประมาณหมวดค่าที่ดินสิ่งก่อสร้าง อาคารเรียน 1 หลัง แบบ ศก.017 ขนาด 4 ห้องเรียน ปลูกสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2513 พ.ศ. 2514 ทางราชการให้งบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง แบบ ศก.14 สร้างเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2514 และในปีนี้ทางโรงเรียนได้วางโครงสร้างประปาโดยนิมนต์พระ คณะครู กำนัน (ผู้ใหญ่บ้าน) ผู้ปกครองนักเรียนมาประชุมกันเพื่อหาแนวทางตั้งคณะทำงานกรรมการฝ่ายต่างๆ เพื่อดำเนินงาน นำโดยนายฟั่น ทาทอง หัวหน้าสถานีอนามัย ตำบลเมืองน้อย โดยกรมอนามัยมอบวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างคิดเป็นเงิน 7,000 บาท โรงเรียนสมทบเป็นเงิน 6,733 บาท ผู้ปกครองนักเรียนสมทบ 1640 บาทรวมเป็นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 15,373 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันสามร้อยเจ็ดสิบสามบาทถ้วน) เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2514 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 คณะกรรมการมอบเป็นสมบัติของทางราชการเมือง พ.ศ.2515
พ.ศ. 2515 ทางราชการให้งบหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างโรงฝึกงาน 1 หลัง ตามรูปแบบศ.ก. 32 วงเงิน 45,000 บาท (สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน) เริ่มปลูกสร้าง วันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2515 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515
พ.ศ. 2516 กรมการปกครองมีนโยบายจัดโรงเรียนประชาบาลให้เป็นโรงเรียนชุมชนอำเภอกันทรารมย์รับนโยบายเสนอโรงเรียนชุมชนแบบอาสาสมัครเพื่อเป็นการทดลองการสอนดำเนินการตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2503 แต่เน้นหนักที่วิชาชีพและกิจกรรมพิเศษของชุมชน
พ.ศ. 2517 กรมการปกครองจัดสรรงบประมาณหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างบ้านพักครูให้อีก 1 หลัง แบบ ศก.14 สร้างเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 เสร็จวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ซึ่งสำนักงานประถมศึกษาศรีสะเกษ อนุญาตให้รื้อถอนหลังนี้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
พ.ศ.2518 กรมการปกครองได้อนุมัติให้โรงเรียนนี้เข้าโครงการโรงเรียนชุมนุม ซึ่งมีโรงเรียนแบบอาสาสมัคร 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านเมืองน้อย โรงเรียนไพรบึง โรงเรียนบ้านจะเนียว(ขุนหาญ)โรงเรียนบ้านปรือครัน(ขุขันธ์)
พ.ศ.2520 ทางราชการจัดสรรค่างบประมาณค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างบ้านพักครู 2 หลัง เสร็จแล้วเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2520 ตามรูปแบบศก.14
ปีการศึกษา 2523 ชาวบ้านโนนสวน หมู่2 ขอโอนเด็กในปกครองไปเรียนที่โรงเรียน บ้านหนองน้ำเต้าโนนสวนที่สร้างใหม่ใกล้ห้วยคึ
วันที่ 1 ตุลาคม 2523 นายประเสริฐ ทองสุข ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านอีปาด ย้ายนายสิงห์ คำศรี มาดำรงตำแหน่งแทนและแต่งตั้งนายเฉลิม บุญเริ่มเป็นผู้ช่วยครูใหญ่เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 23 ปีนี้ทางราชการโอนการศึกษาประชาบาลมาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(สปช.) เดือนกันยายน 2525 นายเฉลิม บุญเริ่มดำรงตำแหน่งครูใหญ่
ปีการศึกษา 2528 ทางราชการได้อนุญาตให้โรงเรียนนี้เปิดสอนชั้นเด็กเล็กและกรมการปกครองได้อนุมัติขยายหมู่บ้านตามระเบียบการปกครองท้องที่อีก 1 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 6 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2528 จึงทำให้โรงเรียนตั้งอยู่บนพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลเมืองน้อย
ปีงบประมาณ 2532 ได้รับงบประมาณหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง อาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 จำนวน 1 หลัง ขนาด 8 ห้องเรียน พร้อมครุภัณฑ์ประจำห้องครบชุด วงเงิน 1,311,100 บาท
ปีการศึกษา 2539 ทางราชการอนุมัติให้เปิดสอนขยายโอกาส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สปช. 207/2539 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2539
วันที่ 11 มิถุนายน 2540 นายประดิษฐ์ พรมเสนา ผู้ช่วยผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษมาเป็นประธานพิธีมอบอาคารห้องสมุดซึ่งสร้างแล้วเสร็จ โดยการนำของพระครูพิพัฒนาการ (ทองสา ฐานทินโน) วัดถ้ำคูหาสวรรค์และคณะครู-ภารโรง ผู้ปกครองนักเรียนในเขตบริการคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 187,628 บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นเจ็ดพันหกร้อยสี่สิบแปดบาทถ้วน )
วันที่ 30 มิถุนายน 2543 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ให้นายเฉลิม บุญเริ่มรักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทาม และนายอำไพ นวลศิริ ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน ตามคำสั่งที่ 423/2543 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2543
ปี พ.ศ. 2547 ทางราชการได้แต่งตั้งนายอำไพ นวลศิริ ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบ้านกอกหัวนา และ นายพีรพล ไชยะเดชะ มาดำรงตำแหน่งแทน เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2547 และย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ วันที่ 16 มิถุนายน 2552 ผู้อำนวยการคนปัจจุบันคือ นายสังเวียน สูงโฮง ย้ายมาดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2552
ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านเมืองน้อยหนองมุข มีนักเรียน 188 คน มีข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา 16 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง – คน พนักงานช่างไม้ 1 คน โดยมี นายสังเวียน สูงโฮง เป็นผู้อำนวยการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3